วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/janyatansontia508778/sa-he-tuelea-phlk-ra-thb-khxng-wikvtkarn-dan-thraphyakr-thrrm-cha-tielea-sing-ewe-dl-xm   12-06-2557
http://tummachatsingwadlom.igetweb.com/articles/277238/-       12-06-2557
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/
cheevit/sec00p03.html     13-06-2557
 http://sahutchaisocialwork.wordpress.com/about/     13-06-2557
 http://www.gotoknow.org/posts/242786                  13-06-2557

ผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม

ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

    ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
     1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ   ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
     2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
     ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเมืองเรา คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่างมากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรา  การที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็นถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อถึงหน้าน้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง น้ำท่วมก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้
     
    ปัญหาขยะก็เป็นมลพิษที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การเก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะสะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดลักษณะเสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน้ำ การเน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ   การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียงติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ บางคนดัดแปลงยานพาหนะของตนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำให้เสียงดังกว่าปกติ โดยนิยมกันว่าเสียงที่ดังมาก ๆ นั้นเป็นของโก้เก๋ คนเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าตนกำลังทำอันตรายให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น เสียงที่ดังเกินขอบเขตจะทำให้เกิดอาการทางประสาท ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมาก ๆ จะมีลักษณะหูเสื่อม ทำให้การได้ยินเสื่อมลง เป็นต้น
      ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ในสิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปนมาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ
      การใช้สารมีพิษเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ความสนใจในโทษของสารเคมีที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชยังมีน้อยมาก ในประเทศไทย วัตถุมีพิษที่ใช้ในกิจการดังกล่าวส่วนใหญ่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่นิยมใช้กันอยู่มีประมาณ 100 กว่าชนิด วัตถุมีพิษเหล่านี้ผสมอยู่ในสูตรต่าง ๆ มากกว่า 1,000 สูตร เมื่อมีการใช้วัตถุมีพิษอย่างแพร่หลายมากเช่นนี้ สารมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารมีพิษตกค้างในอาหาร ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับอันตราย จึงปรากฎมากขึ้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ พบว่า ปริมาณสารมีพิษประเภทยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในน้ำและในสัตว์น้ำมีแนวโน้มของการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางกรณีปริมาณวัตถุมีพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ประชาชนใช้บริโภคอยู่ จะมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บางประเทศกำหนดไว้ก็ตาม หากคิดว่าโดยปกติคนไทยจะนิยมบริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารหลักด้วยแล้ว ปัญหานี้ก็จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอันตรายมาก

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

แนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
          
          1. การพัฒนาคน การพัฒนาคนหมายถึงการให้ความรู้ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกร่วมกันของมนุษย์ในสังคมโลก โดยการจัดเป็นหลักสูตรการเรียนทั้งในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐานและอุดมศึกษารวมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสาร เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของมนุษยชาติ ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและช่วยกันแก้ปัญหา               
         2. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องนี้องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมเพื่อระดมความร่วมมือในการแก้ปัญหาหลายครั้งโดยการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างชาติขึ้น ดูแลในเรื่องสภาพแวดล้อมคือ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Program : UNEP) ผลจากการรณรงค์และการทำงานขององค์การสหประชาชาติ และจากแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า กลุ่มกรีนพืช(Green Peace) ออกปฏิบัติการต่อด้านพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ          
        3. การใช้มาตรการบังคับ ในหลายประเทศได้มีการออกกฎหมายควบคุมการถ่ายเทน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องสร้างปล่อยควันให้สูง เพื่อไม่ให้ควัน และสารพิษทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ นอกจากการควบคุมที่ใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว ในหลายประเทศได้จัดระบบเฉพาะเกิดขึ้นควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย เช่น การห้ามรถยนต์บางชนิดวิ่งในถนนบางสาย หรือการกำหนดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในอากาศไม่ให้สูงเกินมาตรฐานกำหนด    ถึงแม้การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้วางเครือข่ายอย่างกว้างขวางก็ตาม หากประเทศใดละเลยก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เช่น กรณีคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปฟ้องดำเนินคดีกับอังกฤษ กรีซ และอิตาลี ทั้ง3 ชาติว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายยุโรปโดยปล่อยให้เกิดระดับเสียงดังเกินมาตรฐานและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ซึ่งกฎหมายนี้บังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2001 แต่ทั้ง 3 การฟ้อง ทั้ง 3 ประเทศนี้ ในคดีอื่นๆ พร้อมกับประเทศไอร์แลนด์ และสเปน กรณีที่ไม่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการรักษาคุณภาพอากาศอีกด้วย         
      4. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้จัดงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพปกติเป็นเงิน โดยรวมนับหลายหมื่นล้านเหรียญ เช่น การเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำ การลงทุนในปฏิบัติการฟอกอากาศในโรงงาน
      5. การจัดวางผังเมือง หลายประเทศตื่นตัวมากขึ้น เริ่มมีการกำหนดพื้นที่ ให้เป็นสัดส่วนตามหลักวิชาการ โดยการกำหนดว่าที่ใดเป็นเขตที่อยู่อาศัย พื้นที่ใดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้มลพิษทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขตามแนวทางที่กล่าวมานั้นจะไม่ได้ผลหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชากรของทุกประเทศในสังคมโลก โดยเฉพาะในเรื่องจิตสำนึกร่วมกันที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อม แม้กระทั่ง นายจอร์จ บุช อดีตประธานาธิบดี ของสหรัฐอเมริกายังให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศให้เป็น ใน ของการจัดระเบียบโลกใหม่ 

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม



    สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและสูญเสียได้ 3 ทาง คือ (ราตรี ภารา, 2540)
       ปัจจุบัน การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย (สุพจน์ แสงมณี, 2546) ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ้ทรัพยากรอื่น ๆ มากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมาก ขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา
       การ ขยายตัวของชุมชนหรือเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการขยายตัวของ เมืองอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาการขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วง หน้า ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกทั้งการขยายตัว ของเมือง ปกติแล้วจะเกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย และในขั้นตอนต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมถ้าหากขาดการวางแผน และการควบคุมที่ดีก็จะส่งผลต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย
       เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร โดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงทำให้เกิดการตกค้าง ของสารเหล่านี้ในดิน และอาจขยายไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จนเกิดผลต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเกิดการสะสม ในสายใยอาหารทางด้านอุตสาหกรรม สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสารที่เป็นผลเกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกั่ว ปรอท
สารหนู เป็นต้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีขั้นตอนการกำจัดส่วนที่ตกค้าง ( Residuals ) ให้หมดสิ้นไปได้ยาก และจะเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย
       การสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ทรัพยากรหลัก เช่นป่าไม้ถูกทำลาย ทรัพยากรดิน น้ำ สัตว์ป่าจึงพลอย ได้รับ ผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย ทำให้มนุษย์เข้าสู่พื้นที่ป่าที่เหลือได้ง่ายกว่าเดิม เนื่องจากการไปมาสะดวก การทำลายจึง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อป่าเสื่อมโทรมหรือหมดไป ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย โอกาสถูกล่ามีมากขึ้น สัตว์บางชนิดหาอาหาร เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในที่สุดก็สูญพันธุ์ไป เป็นต้น
       ส่วนใหญ่เกิดกับทรัพยากรสัตว์ป่า เช่นการยิงนก ตกปลา และการล่าสัตว์เป็นต้น ถ้าทำเพื่อการกีฬาที่แท้จริงก็ไม่มีปัญหา เรื่องการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่เมื่อใดที่เป็นการแข่งขันเพื่อทำสถิติด้านจำนวน ขนาดอาวุธร้ายแรงและทันสมัย จะถูกนำมา ใช้มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่ได้มาก็จะนำส่วนหนึ่งของที่ได้หรือบางส่วนของร่างกายไปเป็นอาหาร หรือเครื่องใช้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะทิ้ง ไว้ในป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียชีวิตและพันธุกรรมของสัตว์ป่า
       ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น การนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้เพื่อการผลิตอาวุธและเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกทำลายไป บางครั้งต้องเร่งขุดเจาะน้ำมันดิบเพื่อขาย แล้วนำเงินตราไปซื้ออาวุธที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพการทำลายสูง มาต่อสู้ซึ่งกันและกัน ผลของสงครามก็คือการสูญเสียทั้งสองฝ่ายในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากร อื่น ๆ เช่นการทิ้งระเบิด ทำลายชีวิตและทรัพยากรของมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติการทำลายบ่อน้ำมัน ของอีรักในปี พ . ศ . 2536 ทำให้สูญเสียทรัพยากร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปีในการเกิดไปอย่างน่าเสียดายและยังส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเกือบทั่วโลก
       หลาย ๆ ครั้งที่คนเราทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุและผลกระทบ ขาดข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เราเข้าถึง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ในขณะที่นักอนุรักษ์นึกถึงสิ่งแวดล้อมในรูปของระบบนิเวศของธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับนึกถึงวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยในการผลิตเป็นต้นทุนนัก เศรษฐศาสตร์ จะนึกถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า ชาวนาจะนึกถึงฝน ภาคท่องเที่ยวนึกถึงเงิน การทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกร ฯลฯ สังคมยังขาดความเข้าใจถึง สิ่งแวดล้อมในลักษณะรวมที่เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อเกิดความเสียหายที่ใดที่หนึ่งก็จะมีผลกระทบแก่กันและ กันบางครั้งลืมไปว่า ความสนุกชั่วครู่ชั่วยามของตนเป็นสิ่งที่ทำลายความเป็นธรรมชาติและความงดงาม ของสถานที่
1. มนุษย์
2. สัตว์และโรคต่าง ๆ
3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ซึ่งการสูญเสียเนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
1. การเพิ่มของประชากร
2. การขยายตัวของเมือง
3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 
4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ 
5. การกีฬา 
6. การสงคราม 
7. ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

มารู้จักกับคำว่า "สิ่งแวดล้อม"

สิ่งแวดล้อมคืออะไร ?
               

       สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ **กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมให้นิยามว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ประเภทของสิ่งแวดล้อม   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม
  1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีกลไกควบคุมการเกิดขึ้น
  2. สิ่งแวดล้อมนั้นจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ
  3. สิ่งแวดล้อมหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอเช่น ปลาต้องการน้ำ เพื่อการอยู่รอดหรือต้องการรักษาสภาพตนเองหากขาดสิ่งแวดล้อมอื่นที่จำเป็นอาจสูญสลายได้
  4. สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกกลุ่มของสรรพสิ่ง (ระบบนิเวศ) ภายในระบบนิเวศมีองค์ประกอบ  หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะ การอยู่ร่วมกันมีกลไกสิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่างๆแสดงออกเป็นการทำงานร่วมกัน
  5. สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นเป็นลูกโซ่เสมอ
  1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมักมีลักษณะทนทาน และเปราะบางต่อการถูกกระทบต่างกัน
  1. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วยคราวหรือถาวรก็ได้

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ ดิน น้ำ มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย
       -  สิ่งที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment)    เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์
       -    สิ่งที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะมองเห็นหรือมอง ไม่เห็น เช่น แร่ธาตุ อากาศ เสียง
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) ได้จากทรัพยากรดั้งเดิม แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงเช่น ถนน บ้านเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรม (Abstract หรือ Social Environment) เช่น วัฒนธรรม ประเพณี การเมือง ศาสนา กฎหมาย
                สิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในแต่ละประเภท สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่  เมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ   เนื่องจากสิ่งแวดล้อมจะมีลักษณะที่ทนทานต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน

คำนำ

คำนำ

                    เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ   ซึ่งได้รวบรวมเกี่ยวกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมไว้ ทั้งที่มา สาเหตุในการเกิด และผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งที่มาของคำว่า"สิ่งแวดล้อม"  ได้จัดทำขึ้นเพื่อ ให้เพื่อนๆพี่ๆและน้องๆได้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทั้งในระดับชั้นเรียนและนอกห้องเรียน 
     * หวังว่าเว็บนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่านไม่มากก็น้อย
   ** หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ





นางสาวสุพิชญนันท์   สุทินวงศ์
เลขที่ 10      ชั้นม.6/2

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปกวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม

วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม







จัดทำโดย


นางสาวสุพิชญนันท์     สุทินวงศ์

   
 เลขที่  10          ชั้น ม.6/2

เสนอ

อาจารย์ศุภสันห์         แก้วสำราญ
         
      ภาคเรียนที่ 1            ปีการศึกษา 2557
            
  โรงเรียนเมืองกระบี่