วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

แนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
          
          1. การพัฒนาคน การพัฒนาคนหมายถึงการให้ความรู้ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกร่วมกันของมนุษย์ในสังคมโลก โดยการจัดเป็นหลักสูตรการเรียนทั้งในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐานและอุดมศึกษารวมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสาร เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของมนุษยชาติ ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและช่วยกันแก้ปัญหา               
         2. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องนี้องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมเพื่อระดมความร่วมมือในการแก้ปัญหาหลายครั้งโดยการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างชาติขึ้น ดูแลในเรื่องสภาพแวดล้อมคือ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Program : UNEP) ผลจากการรณรงค์และการทำงานขององค์การสหประชาชาติ และจากแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า กลุ่มกรีนพืช(Green Peace) ออกปฏิบัติการต่อด้านพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ          
        3. การใช้มาตรการบังคับ ในหลายประเทศได้มีการออกกฎหมายควบคุมการถ่ายเทน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องสร้างปล่อยควันให้สูง เพื่อไม่ให้ควัน และสารพิษทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ นอกจากการควบคุมที่ใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว ในหลายประเทศได้จัดระบบเฉพาะเกิดขึ้นควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย เช่น การห้ามรถยนต์บางชนิดวิ่งในถนนบางสาย หรือการกำหนดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในอากาศไม่ให้สูงเกินมาตรฐานกำหนด    ถึงแม้การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้วางเครือข่ายอย่างกว้างขวางก็ตาม หากประเทศใดละเลยก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เช่น กรณีคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปฟ้องดำเนินคดีกับอังกฤษ กรีซ และอิตาลี ทั้ง3 ชาติว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายยุโรปโดยปล่อยให้เกิดระดับเสียงดังเกินมาตรฐานและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ซึ่งกฎหมายนี้บังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2001 แต่ทั้ง 3 การฟ้อง ทั้ง 3 ประเทศนี้ ในคดีอื่นๆ พร้อมกับประเทศไอร์แลนด์ และสเปน กรณีที่ไม่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการรักษาคุณภาพอากาศอีกด้วย         
      4. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้จัดงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพปกติเป็นเงิน โดยรวมนับหลายหมื่นล้านเหรียญ เช่น การเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำ การลงทุนในปฏิบัติการฟอกอากาศในโรงงาน
      5. การจัดวางผังเมือง หลายประเทศตื่นตัวมากขึ้น เริ่มมีการกำหนดพื้นที่ ให้เป็นสัดส่วนตามหลักวิชาการ โดยการกำหนดว่าที่ใดเป็นเขตที่อยู่อาศัย พื้นที่ใดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้มลพิษทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขตามแนวทางที่กล่าวมานั้นจะไม่ได้ผลหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชากรของทุกประเทศในสังคมโลก โดยเฉพาะในเรื่องจิตสำนึกร่วมกันที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อม แม้กระทั่ง นายจอร์จ บุช อดีตประธานาธิบดี ของสหรัฐอเมริกายังให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศให้เป็น ใน ของการจัดระเบียบโลกใหม่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น